Every dollar matched up to $50,000 until December 31! Give today.
Our SpeakUp® Mechanism
Nonviolent Peaceforce logo with blue dotDonate

‘ประชาสังคมที่เข้มแข็งมีส่วนสำคัญในการสร้างสันติภาพ’ บทเรียนจากพม่าและมินดาเนา

Date: January 23, 2015

Press Clip Source: ประชาไท (Prachatai)
Written By: อิมรอน ซาเหาะ
        Date: January 23, 2015
Original Language: Thai - Read Original Article: Here

Civil society. in Burma and Mindanao

เวทีเรียนรู้กระบวนสันติภาพ ทั้งชายแดนใต้/ปาตานี พม่าและมินดาเนา เผยมุมมองต่อสันติภาพมีทั้งด้านบวก-ด้านลบ ดร.โนเบิร์ตชี้ปัจจัยสู่ความสำเร็จและความสำคัญของฝ่ายที่สาม ด้านผอ. Non-Violence Peaceforce ยกตัวอย่างบทบาทภาคประชาสังคมและผู้นำศาสนาแก้ความขัดแย้งในพม่า ฝ่ายที่สามและบทบาทพลเรือนในการตรวจสอบหยุดยิงในมินดาเนา พร้อมย้ำภาคประชาสังคมต้องเข้มแข็งเพื่อให้สองฝ่ายยอมรับ ชี้มีส่วนลดการละเมิดข้อตกลงหยุดยิง

สโมสรโรตารีเซนต์พอล ภาค 5960 สหรัฐอเมริกา และ สโมสรโรตารีควนลัง-หาดใหญ่ ภาค 3330 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “เรื่องการสันติภาพและมิตรไมตรีที่ยั่งยืนในประเทศไทย” (Peace Process : Building Sustainable Peace and Goodwill in Thailand) ครั้งที่ 1 เมื่อวันเสาร์ที่ 10 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา ณ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี โดยมีสมาชิกสโมสรโรตารี ผู้นำศาสนา นักวิชาการและภาคประชาสังคมเข้าร่วม

การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว มีทั้งหมด 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 2 วันที่ 11 มกราคม 2558 ณ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.อ.วิทยาเขตหาดใหญ่ และครั้งที่ 3 วันที่ 13 มกราคม 2558 ณ ศูนย์โรตารีประเทศไทย กรุงเทพมหานคร โดยร่วมกับ Nonviolent Peaceforce (NP) Peace Resource Center (PRC) และคณะวิทยาการสื่อสาร สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) และสถาบันสันติศึกษา ม.อ.

มุมมองต่อสันติภาพด้านบวก-ด้านลบ

การประชุมเริ่มด้วยกิจกรรมแสดงจุดยืนต่อกระบวนการสร้างสันติภาพ โดยให้ผู้เข้าร่วมเลือกยืนบนเส้นตรงกลางห้องประชุมที่สมมติว่า ด้านหนึ่งของกำแพงห้องคือด้านบวก และด้านตรงข้ามคือด้านลบ พบผู้เข้าส่วนใหญ่เลือกยืนตั้งแต่ตรงจุดบวกสุดกำแพง ไปจนถึงลบกลางๆ แต่ไม่มีใครเลือกยืนตรงจุดลบสุดกำแพง

จากนั้นได้สุ่มเลือกถามบางคนว่า ทำไมถึงเลือกยืนตรงจุดนั้น โดยผู้เข้าร่วมบางคนที่เลือกยืนด้านลบให้เหตุผลว่า คนที่แสดงตัวในการสนับสนุนกระบวนการสันติภาพยังมีอยู่น้อย เพราะยังเจอแต่คนหน้าเดิมๆ ที่มาร่วมประชุมลักษณะนี้

ส่วนผู้เข้าร่วมที่เลือกยืนตรงกลาง แสดงความเห็นว่า หากจะเปรียบเทียบกระบวนการสร้างสันติภาพเหมือนกับการเมืองไทย จะเห็นได้ว่าการเมืองไทยมีความพยายามใช้วิธีการต่างๆ เพื่อให้เกิดการปรองดอง แต่ก็ยังไม่สำเร็จเพราะมีเงื่อนไขอื่นๆ อีกมาก

ในขณะที่ผู้เข้าร่วมที่เลือกยืนด้านบวก กล่าวว่า เราเชื่อมั่นว่ากระบวนการสร้างสันติภาพจะเกิดขึ้นได้จริง หากพวกเราทุกคนศรัทธา

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ-ความสำคัญของฝ่ายที่สาม

หลังจากนั้นมีการบรรยายหัวข้อ “การเริ่มต้นใหม่ของกระบวนการสร้างสันติภาพ” โดยนางสาวรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิจัยอิสระและ ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส นักวิจัยอาวุโส สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) โดยนางสาวรุ่งรวีได้อธิบายปรากฏการณ์ที่ผ่านมา เพื่อปูพื้นฐานให้ผู้เข้าร่วมได้มีพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสันติภาพอย่างใกล้เคียงกัน

นางสาวรุ่งรวีตั้งข้อสังเกตบางประการต่อกระบวนการสร้างสันติภาพ เช่น การริเริ่มการพูดคุยสันติภาพอย่างเป็นทางการ นับว่าเป็นความก้าวหน้าทางนโยบายที่สำคัญอย่างยิ่ง และการที่ขบวนการ BRN ยินยอมที่จะพูดคุยสันติภาพภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญไทย แสดงให้เห็นถึงความต้องการที่จะประนีประนอมและแสวงหาทางออกร่วมกับรัฐไทย

“ที่สำคัญเมื่อดูสถิติเหตุการณ์ในช่วงต้นเดือนรอมฎอนที่ผ่านมาทำให้เห็นว่า BRN สามารถควบคุมกองกำลังได้อย่างมีนัยสำคัญ เป็นต้น”

ในขณะที่ ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส กล่าวถึงบทเรียนพื้นฐานจากการสร้างสันติภาพว่า ไม่มีความขัดแย้งใดที่ไม่มีทางออก แต่คำถามคือจะต้องมีเหยื่ออีกสักกี่ราย และทุกฝ่ายมักจะเชื่อว่าตัวเองถูก ดังนั้นฝ่ายที่สามจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการสันติภาพ ที่สำคัญยิ่งคือความขัดแย้งยืดเยื้อนานเพียงใด ก็จะทำให้ความขัดแย้งกลายเป็นเรื่องระบบที่ถาวรยิ่งขึ้น และความขัดแย้งที่รุนแรงเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการพัฒนา

ดร.โนเบิร์ต ยังกล่าวอีกว่า ความสำเร็จของกระบวนการสันติภาพจะต้องอาศัยผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และความกล้าหาญ และต้องมีการล็อบบี้ที่เข้มแข็งอย่างไม่ลดละ และสันติภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้หากทั้งสองฝ่ายไม่ยอมประนีประนอม

“สุดท้าย ในการสร้างสันติภาพจะต้องทำทั้งใน “เชิงลบ” (negative peace) คือ การลดความรุนแรงและใน “เชิงบวก” (positive peace) คือ การจัดการกับปัญหารากเหง้าและปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้น”

ตัวอย่างบทบาทภาคประชาสังคม-ผู้นำศาสนาในพม่า

หลังจากนั้น มีการบรรยายหัวข้อ “กระบวนการสันติภาพในพม่า” (Myanmar Peace Process) โดย ชาดาบ มันซูรี ผู้อำนวยการ Non-Violence Peaceforce ประจำประเทศพม่า โดย Mansoori กล่าวว่า กลุ่มติดอาวุธในพม่ามีมากกว่า 30 กลุ่ม ใน ค.ศ. 1995 เคยมีการลงนามหยุดยิงมาแล้วแต่ก็สู้รบกันต่อมาอีกกว่า 15 ปี จน ค.ศ. 2010 ก็เริ่มมาคุยกันใหม่และมีการตกลงกันว่ารัฐบาลจะคืนอำนาจให้กับพลเรือน

เขากล่าวต่อไปว่า ภาคประชาสังคมจำเป็นจะต้องเข้ามามีบทบาทและคอยตรวจสอบเพราะทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีความไว้ใจกันเลย โดยเขาได้ยกตัวอย่างกรณีรัฐคะฉิ่นซึ่งนักธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นคนกลางเพื่อช่วยสร้างสันติภาพ และด้วยความพยายามของนักธุรกิจเหล่านั้น ทำให้รัฐคะฉิ่นเริ่มหันมาสนใจกระบวนการสร้างสันติภาพมากขึ้น

อีกตัวอย่างที่เขา ยกตัวอย่างถึงกรณีที่ผู้นำศาสนาเข้ามาช่วยในการเป็นคนกลางในการทำหน้าที่ติดตามและตรวจสอบการหยุดยิงระหว่างชนกลุ่มน้อยชาวคริสต์กับรัฐบาลพม่า

ฝ่ายพลเรือนกับการตรวจสอบหยุดยิงในมินดาเนา

หัวข้อสุดท้ายของการบรรยายคือเรื่อง “บทเรียนกระบวนการสันติภาพมินดาเนา” (Learning From Mindanao Peace Process) โดย อาติฟ ฮามีด ผู้อำนวยการ Non-Violence Peaceforce ประจำประเทศฟิลิปปินส์ โดยเขากล่าวถึงกองกำลังติดอาวุธกลุ่มใหญ่ๆ หลายกลุ่มในประเทศฟิลิปปินส์ เช่น Moro Islamic Liberation Front (MILF), Moro Nationa Liberation Front (MNLF), Bangsamoro Islamic Freedom, Abu Sayyaf

เขากล่าวว่า การดำเนินการเรื่องกระบวนการสร้างสันติภาพกับกลุ่มติดอาวุธต่างๆ เหล่านั้นมีความซับซ้อน

เขากล่าวต่อไปว่า ในการเจรจาระหว่างกลุ่ม MILF กับรัฐบาลนั้น ใน ค.ศ.2000 มีการเปิดศึกกันครั้งใหญ่ จนทั้งสองฝ่ายเห็นว่าน่าจะต้องมีฝ่ายที่สามเข้ามาช่วย ซึ่งรัฐบาลได้เชิญประเทศมาเลเซียเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกและทำหน้าที่ในการติดตามการละเมิดข้อตกลงการหยุดยิง

เขากล่าวต่ออีกว่า ตั้งแต่ ค.ศ. 2009 มีฝ่ายพลเรือนเข้ามามีส่วนร่วมในช่วงสุดท้ายของข้อตกลงในการสร้างสันติภาพมากขึ้น ภายใต้กลไกที่เรียกว่า International Contact Group โดยพวกเขาได้เข้าไปสร้างกลไกเพื่อทำงานร่วมกับรัฐบาลและกลุ่มติดอาวุธ (Track1) ตลอดจนมีผู้แทนเข้าไปตรวจสอบการหยุดยิงและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชน

ภาคประชาสังคมต้องเข้มแข็งเพื่อให้สองฝ่ายยอมรับ

อาติฟอธิบายว่า ในช่วงแรกๆ ทั้งสองฝ่ายไม่ยอมรับบทบาทของภาคประชาสังคม แต่ภาคประชาสังคมก็ใช้เวลาหลายปีในการพยายามเสริมสร้างศักยภาพของตัวเอง จนเมื่อมีทักษะที่ดีขึ้นก็สามารถเข้าไปมีบทบาทในการตรวจสอบความรุนแรงที่กระทำโดยทั้งสองฝ่ายได้

อาติฟอธิบายต่อไปว่า ปัจจุบันภาคประชาสังคมมีกลไกที่เข้มแข็งมาก ซึ่งพวกเขาก็ใช้เวลานานนับสิบปีในการสร้างเครือข่าย เมื่อมีเครือข่ายแล้วจะรู้สึกว่ามีอำนาจมากขึ้น และมีการขยายการสร้างเครือข่ายออกไปเรื่อยๆ นอกจากนั้นแล้วภาคประชาสังคมยังทำงานแบบเข้าถึงจริงๆ เช่น จะเข้าไปนั่งตรงจุดตรวจหรือด่านพร้อมกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญในการช่วยลดการละเมิดข้อตกลงในการหยุดยิง

You can protect civilians who are living in or fleeing violent conflict. Your contribution will transform the world's response to conflict.
arrow-right
English
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.